หน้าที่และแหล่งที่มาของโปรตีน

593 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Protein

โปรตีน

โปรตีน คือ สารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาวของ กรดะอมิโน (amino acid)  โปรตีนเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ของเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด

หน้าที่ของโปรตีน

  1. รักษาระดับความสมดุลของแรงดันออสโมติก ทำให้น้ำหรือของเหลวระหว่างภายในเซลล์กับนอกเซลล์อยู่ในภาวะสมดุล
  2. สร้างความแข็งแรงและเป็นโครงสร้างของร่างกาย เช่น คอลลาเจน (collagen) ใน กระดูกอ่อน เอ็น เส้นผม ฟัน ขน เล็บ ผิวหนัง
  3. เร่งปฏิกิริยาในร่างกาย เช่น เอนไซม์อะไมเลสย่อยสลายแป้งและไกลโคเจน
  4. เป็นส่วนประกอบของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งจะพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  5. ช่วยการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อยืดหรือหด
  6. ช่วยเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในอวัยวะต่างๆ
  7. เป็นฮอร์โมน ควบคุมดุลยภาพของร่างกายหรือสรีรวิทยาของร่างกาย เช่น อินซูลิน (insulin) ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
  8. ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เช่น โปรทรอมบิน (prothrombin) ไฟบริโนเจน (fibrinogen) ไฟบริน (fibrin)และต่อต้าน โรค เช่น แอนติบอดี้ (antibody)
  9. เป็นส่วนประกอบของผนังหลอดเลือดซึ่งยืดหยุ่นได้ เพื่อช่วยการหมุนเวียนของโลหิต
  10. ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ให้อยู่ในสภาวะปกติ
  11. ให้พลังงาน (energy) ในกรณีที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรต หรือไขมันไม่พอ ร่างกายก็จะเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นคาร์โบไฮเดรท หรือไขมัน แล้วมีการเผาผลาญให้เกิดพลังงานแทน โดยโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่
  12. เป็นแหล่งสะสมอาหาร เช่น เคซีน ในนม อัลบูมินในไข่ขาว

แหล่งโปรตีน

แหล่งโปรตีนปริมาณโปรตีน
ปลาทูน่าทูน่าในน้ำแร่ 1 กระป๋อง (56กรัมเฉพาะเนื้อ) จะให้โปรตีน 16 กรัม
อกไก่, สันในไก่เนื้ออกไก่ 1 ชิ้นเมื่อเลาะหนังออกแล้วจะให้โปรตีนประมาณ 28 กรัม
ไข่ไก่ไข่ 1 ใบให้โปรตีน 6-7 กรัม
เนื้อวัวเนื้อวัวปริมาณ 100 กรัม จะโปรตีนประมาณ 26 กรัม
โยเกิร์ตไขมันต่ำโยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วยจะให้โปรตีนประมาณ 13 กรัม
เนื้อปลาแซลมอนเนื้อปลาแซลมอน 1 ชิ้นขนาด 100 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 20 กรัม
ควินัวควินัว 1 ถ้วยเมื่อหุงสุกจะให้โปรตีน 8 กรัม
อะโวคาโดอะโวคาโดปริมาณ 1 ถ้วยให้โปรตีนประมาณ 3 กรัม
ถั่วเหลืองถั่วเหลือฝักสด 100 กรัม  มีโปรตีน 13.0 กรัม

ถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง 100 กรัม มีโปรตีน 34.1 กรัม 
เทมเป้เทมเป้(ถั่วหมัก) 1 ถ้วยให้โปรตีน 30 กรัม
เต้าหู้เต้าหู้ ครึ่งถ้วยให้โปรตีน 22 กรัม
อัลมอนอัลมอน 1 ถ้วยจะให้โปรตีนประมาณ 30 กรัม
ถั่วลันเตาถั่วลันเตา 1 ถ้วยเฉพาะเม็ดให้โปรตีน 8 กรัม

 

ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

คณะกรรมการโภชนาการและอาหารแห่งสถาบันการแพทย์ (Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine) ได้ให้คำแนะนำว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรได้รับโปรตีนต่อวันอย่างน้อยที่สุด 0.8 กรัมต่อน้ำหนักร่างกายทุก 1 กิโลกรัม โดยคำนวนจาก 0.8 x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)

กลุ่มผู้บริโภคปริมาณโปรตีนที่ต้องการ
ทารก2.5-3.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เด็ก2.5-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้หญิง46-75 กรัมต่อวัน
หญิงมีครรภ์80 กรัมต่อวัน
หญิงให้นมลูก100 กรัมต่อวัน
ผู้ชาย56-91 กรัมต่อวัน
ผู้สูงอายุ (ราว 45-60 ปี)1.5 กรัม.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
คนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ2 – 3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


โรคที่เกิดจากการขาดโปรตีน

โรคขาดโปรตีนและแคลอรี

เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ พบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ลักษณะอาการมี 2 รูปแบบ คือ ควาชิออร์กอร์ (kwashiorkor) และมารามัส (marasmus)

  • ควาชิออร์กอร์ (kwashiorkor) เป็นโรคที่ขาดโปรตีนอย่างมากเด็กมีอาการบวมเห็นได้ชัดที่ขา 2 ข้าง เส้นผมมีลักษณะบางเปราะ และหลุดร่วงง่าย ตับโต มีอาการซึม และดูเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ผิวหนังบางและลอกหลุด
  • มารามัส (marasmus) เป็นโรคขาดทั้งโปรตีนและแคลอรี เด็กมีแขนขาลีบเล็ก เพราะไขมันและกล้ามเนื้อ ถูกเผาผลาญมาใช้เป็นพลังงาน ลักษณะที่พบเป็นแบบหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ ไม่มีอาการบวม และตับไม่โต

แหล่งที่มา :

ที่มา Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร เว็บไซต์ https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1189/protein และhttps://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/7371

ที่มา Ensure gold เว็บไซต์ https://www.family.abbott/th-th/ensure/healthy-living/nutrition/complete-balanced-nutrition/maintain-and-strengthen-muscle/power-of-protein.html

ที่มา ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซต์ https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

ประสงค์ หลำสะอาด. 2541. โปรตีน สารในเซลล์สิ่งมีชีวิต. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา

ยุวดี กาญจนัษฐิติ. (2549). โปรตีนในเอกสารชุดโภชนาการกับชีวิตมนุษยหน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 21 (หน้า 233-283). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Fletcher, D. 2011. Protein. Retrieved December 5, 2010, from http://www.supplementsguideonline.com/using-amino-acid-supplements/.

Insel, P. Ross, D., McMahen, K. and Bernstein, M. 2011. Nutrition. 4th edition. Ontario, Jones and Bartlett publishers.

McGuire, M., Beerman, K. A. 2011. Nutrition sciences : from fundamentals to food. Belmont, wadsworth Cengage learning.

Whitney, E. Whitney, E. N., Rolfes, s. R. 2008. Understanding nutrition. Belmont,  Wadsworth Cengage Learning

หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)

เว็บไซต์เมดไทย (Medthai) https://medthai.com/

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๙ / เรื่องที่ ๑๒ โภชนาการ / โรคขาดโปรตีนและแคลอรี

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้